การเลือกใช้งานคู่สายโทรศัพท์กับระบบคอลเซ็นเตอร์
อัฟเดทล่าสุดในปัจจุบันปี 2017 นี้ คู่สายโทรศัพท์ที่สามารถนำมาใช้งานกับระบบ Callcenter ได้นั้นมีให้เลือกหลากหลาย ตามความเหมาะสมและกำลังทรัพย์ของลูกค้าแต่ละราย ที่เราจะแนะนำมีดังต่อไปนี้
1. คู่สายโทรศัพท์แบบ SIP Account และ SIP Trunk
เป็นคู่สายโทรศัพท์ไอพีดิจิตอลผ่านระบบ IP Network ระหว่างผู้ให้บริการและปลายทางอุปกรณ์ลูกค้าที่ใช้งาน เป็นเลขหมายประเภทที่อุปกรณ์ของลูกค้าเชื่อมต่อตรงกับทางชุมสายผู้ให้บริการที่มีให้เลือกหลายรายในปัจจุบัน เลขหมายเป็นกลุ่มเลขหมายพื้นฐานปกติ เช่น 02 หรือเลขหมายตามพื้นที่แต่ละจังหวัด ความแตกต่างระหว่าง SIP Account กับ SIP Trunk คือ
SIP Account รองรับการใช้งานกับคู่สายแบบ 1 คู่สาย/1 เลขหมาย
SIP Trunk รองรับการใช้งานกับคู่สายจำนวนมากและรองรับการขยายเพิ่มได้ในเลขหมายเดิม
สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตู้สาขาแบบ IP PBX, SIP Server, Call Manager และตู้สาขาไอพีต่างๆ คู่สายที่ทางเราแนะนำจะมีของผู้ให้บริการดังต่อไปนี้
CAT2Call Plus (SIP Account)
เป็นคู่สายโทรศัพท์ของค่าย CAT กสท. แบบ 1 เลขหมาย 1 คู่สาย ค่าบริการ 200 บาท/เดือน/เลขหมาย ค่าบริการ 200 บาท สามารถนำมาเป็นค่าโทรศัพท์ได้ 200 บาท ค่าโทรออกนาทีละ 1 บาท ฟรีค่าติดตั้งแรกเข้า ถือว่าคุ้มค่ากับลูกค้าที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ และไม่ต้องการจำนวนคู่สายมาก เหมาะกับออฟฟิตสำนักงานขนาดเล็กหรือส่วนบุคคล สามารถนำมาต่อใช้งานกับระบบ CloudCallcenterThailand ได้โดยตรงหรือเชื่อมกับตู้สาขาไอพีได้เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต่างกันแค่ Config เล็กๆน้อยๆ
CAT SIP Connect (SIP Trunk)
เป็นคู่สายโทรศัพท์ของค่าย CAT กสท. แบบ 1 เลขหมายเริ่มต้น 5 คู่สาย ค่าบริการ 500 บาท/เดือน/เลขหมาย ค่าโทรออกนาทีละ 1 บาท ขยายได้สูงสุด 100 คู่สาย ฟรีค่าติดตั้งแรกเข้า สำหรับกลุ่มลูกค้าที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ และต้องการจำนวนคู่สายรองรับการขยายเพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายใหม่ สามารถปรับลดเพิ่มคู่สายได้ตามต้องการ มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง เคลื่อนย้ายไปได้ตามอุปกรณ์หรือ Device ที่นำมาใช้งาน สามารถนำมาต่อใช้งานกับระบบ CloudCallcenterThailand ได้โดยตรงหรือเชื่อมกับตู้สาขาไอพีได้เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ข้อดีอีกเรื่องนึงคือ ไม่จำกัดการใช้งานบนโครงข่าย Internet คือใช้เน็ตของค่ายไหนก็ได้ เชื่อมต่อกับคู่สายนี้ได้หมด อันนี้ถือว่าเป็นข้อดีและเป็นประโยชน์ในการใช้งานจริงได้ดีครับ ย้ายที่ทำงานเปลี่ยนเน็ตเป็นของเจ้าไหนก็ได้ ใช้กับเลขหมายนี้ได้หมด มีบริการ Technical Support 24 ชั่วโมง สามารถเลือกเลขหมายเบอร์โทรสวยๆ ได้ จ่ายตรงกับ กสท. 50,000 บาท/เลขหมาย แต่เลขหมายมีให้เลือกเหลือน้อยแล้ว ติดต่อฝ่ายขายที่ CloudCallcenterThailand หรือ 020169999 ได้โดยตรง
True IP-DID (SIP Trunk)
เป็นคู่สายโทรศัพท์ของค่าย True ทรู เชื่อมต่อบริการด้วย MPLS โดยทางทรูจะลากลิ้งมาจ่อให้กับทางลูกค้าที่ใช้งานเลย 1 link สำหรับใช้งานเลขหมายนี้โดยเฉพาะ
พูดง่ายๆ ก็คือแถมเน็ตมาให้ 1 เส้น สำหรับใช้กับเบอร์โทรนี้อย่างเดียวครับ สามารถเลือก Interface การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเราได้ทั้งแบบ IP (SIP) และ E1 Interface ซึ่งหากเป็น IP SIP สามารถนำมาต่อใช้งานกับระบบ CloudCallcenterThailand ได้โดยตรง ซึ่งคู่สายของทรูแบบ IP DID นี้จะมาทดแทนคู่สายแบบดิจิตอล ISDN PRI E1 ซึ่งปัจจุบันกำลังจะหมดไปหรือถูกเลิกใช้งานไปในที่สุด
อัตราค่าบริการคร่าวๆ นะครับ(กรุณาสอบถามกับผู้ให้บริการโดยตรงอีกครั้ง)
30 เลขหมาย 10 คู่สาย ค่าติดตั้งแรกเข้า 10,000 บาท ค่าบริการ 4,000 บาท/เดือน/เลขหมาย
50 เลขหมาย 20 คู่สาย ค่าติดตั้งแรกเข้า 30,000 บาท ค่าบริการ 6,000 บาท/เดือน/เลขหมาย
100 เลขหมาย 30 คู่สาย ค่าติดตั้งแรกเข้า 50,000 บาท ค่าบริการ 7,500 บาท/เดือน/เลขหมาย (รายเดือนแล้วแต่ตกลงกับอัตราค่าโทรเหมาจ่ายรายเดือน)
ค่าโทรออกโทรศัพท์พื้นฐานทรูทั่วไทยครั้งละ 3 บาท โทรศัพท์พื้นฐานภายในจังหวัดครั้งละ 3 บาท
โทรศัพท์พื้นฐานเครือข่ายอื่นต่างจังหวัดนาทีละ 3 บาทและโทรมือถือนาทีละ 2 บาท
มีบริการ Technical Support 24 ชั่วโมง และนอกจากนี้ยังสามารถเลือกเลขหมายเบอร์โทรสวยๆ Golden Number ได้ แต่ต้องติดต่อตัวแทนฝ่ายขายทรูหรือติดต่อที่ CloudCallcenterThailand หรือ 020169999 ได้โดยตรง แต่ข้อจำกัดก็คือ เลขหมายของทรูจะจำกัดการใช้งาน Network IP Internet ที่เป็นเฉพาะของ True เท่านั้น แต่เนื่องจากวงจร Internet MPLS ของทรูเท่าที่ใช้งานมาไม่ค่อยจะเจอปัญหาเท่าไหร่
TOT SIP Trunk (แปลงจาก E1 PRI เดิม)
เป็นการเชื่อมอุปกรณ์ตู้สาขาแบบ IP PABX, SIP Server, Call Manager เข้ากับชุมสาย SoftSwitch โดยใช้ SIP Protocol ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนโครงข่าย IP และให้บริการลักษณะเดียวกับบริการ ISDN-PRI Interface การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเรามาเป็นแบบ IP (SIP) RJ45
แต่ข้อจำกัดก็คือ เลขหมายของทีโอทีจะจำกัดการใช้งาน Network IP Internet ที่เป็นเฉพาะของ TOT เองเท่านั้น พูดง่ายๆก็คือ ใช้งานผ่านเน็ตของเจ้าอื่นๆ ไม่ได้ มีบริการ Technical Support ตามเวลาทำการรัฐวิสาหกิจปกติคือ เวลาทำการ จ.-ศ. 8.00-17.00 น. มีเลขหมายสวยให้เลือกใช้งานแต่ต้องลองติดต่อกับฝ่ายขายของ TOT ดูครับ
2. คู่สายโทรศัพท์แบบ GSM โครงข่ายมือถือ
เป็นการนำเอาเลขหมายมือถือซิมของเราที่เป็นเลขหมายที่ใช้ประจำหรือบางรายอาจจะใช้เป็นเลขหมายเริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งไม่อยากจะเปลี่ยนเลขหมายเป็นเลขหมายอื่น ทีนี้การนำเลขหมายซิมมือถือมาใช้งานในระบบคอลเซ็นเตอร์สามารถนำซิมมือถือของทุกค่ายมาใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็น AIS True TOT Dtac และ CAT และซิมมือถือค่ายอื่นๆ ที่รองรับสัญญาณ GSM ข้อดีที่นิยมนำมาใช้กันในกลุ่มที่เน้นโทรออก กลุ่ม Tele sale คือเนื่องจากซิมมือถือ GSM มี Package โทรออกแบบเหมาจ่ายทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโทรออกเมื่อเทียบกับคู่สายแบบอื่น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการต้องซื้ออุปกรณ์ GSM Gateway ที่ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ในที่นี้จะมีของค่าย CAT กสท. ที่เป็นโครงข่ายสัญญาณมือถือแบบ CDMA อาจจะต้องใช้กล่องรับแปลงสัญญาณ GSM Gateway ที่รองรับกับ CDMA โดยเฉพาะ และในส่วนของ Dtac จะมีบางเลขหมายบางพื้นที่ที่ไม่รองรับกับการนำมาใช้งานกับอุปกรณ์ GSM Gateway ก็คือโดน Block นั่นเอง
การนำซิมหรือเลขหมายมือถือมาใช้งานจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
2.1. ใช้งานเลขหมายซิมผ่านกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า GSM Gateway เชื่อมต่อกับระบบตู้สาขา IP-PBX หรือ SIP Server ต่างๆ ผ่านทาง SIP Protocal
2.2. ใช้งานผ่าน SIP Trunk จากผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะมีให้บริการเฉพาะบางค่ายมือถือเท่านั้น และจะต้องใช้งานเป็นจำนวนคู่สายมากๆ ผู้ให้บริการถึงจะยอมลากลิ้งคู่สายมาให้ ซึ่ง Link SIP Trunk เลขหมาย GSM แบบนี้ก็จะแสดงเลขหมายเป็นเบอร์มือถือแบบปกติ เพียงแต่ว่ารองรับการโทรเข้า-ออก ได้พร้อมกันทีละหลายๆ คู่สาย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการคู่สายมากน้อยเพียงใด
3. คู่สายโทรศัพท์แบบ Digital ISDN PRI (E1)
คู่สายโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) PRI E1 นี้เป็นมาตรฐานของคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ในอดีต โดย Primary Rate Interface (PRI) นี้จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 มาตรฐานคือ
แบบ T1
จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณทั้งหมด 23 ช่องสัญญาณหรือ 23 คู่สายนั่นเอง มี Bandwidth ทั้งหมด 1.536 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ T1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนอเมริกา
แบบ E1
จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณทั้งหมด 30 ช่องสัญญาณหรือ 30 คู่สายนั่นเอง มี Bandwidth ทั้งหมด 2.048 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ E1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนยุโรปและในประเทศไทยก็ใช้ E1 นี้เป็นมาตรฐานการใช้งาน
ซึ่งการใช้งานคู่สายแบบ E1 นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเดิมทีจะเป็นทางองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือ TOT ในปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการและวางโครงข่าย และให้สัญญาสัมปทานกับทางทรู True ซึ่งค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต้องเสียคือ ค่าติดตั้งคู่สายครั้งแรกเข้า 100,500 บาท ส่วนลดแล้วแต่ฝ่ายขาย TOT หรือ True จะเป็นผู้อนุมัติ ค่าบริการรายเดือน 7,500 บาท/เดือน ค่าโทรออกตามอัตราปกติ จำนวนคู่สายใช้งานได้ 30 คู่สายพร้อมกัน และได้เลขหมายมาใช้งานจำนวน 100 เลขหมาย (ได้เลขหมายมาใช้งาน 100 เบอร์ แต่ทั้งหมดใช้งานโทรเข้าออกได้พร้อมๆ กันก็คือ 30 คู่สายนะครับ ตามจำนวนช่องสัญญาณ)
ปัจจุบัน ณ กลางปี 2017 นี้ ทางทรูก็จะหมดสัญญาสัมปทานกับทาง TOT แล้ว ซึ่งก็เท่ากับว่าผู้ให้บริการคู่สายที่เป็นแบบ E1 จริงๆ ก็จะเหลือแค่ TOT และ CAT กสท. ในส่วนของทรู True ก็หันมาให้บริการเป็นแบบ True IP-DID แทน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และรองรับอนาคตมากกว่า แต่ก็ยังสามารถใช้งานกับระบบตู้สาขาโทรศัพท์แบบเดิมที่ยังใช้ Card โทรศัพท์แบบ E1 เก่า หรือ Voice Gateway E1 ได้ ซึ่งทาง True เองก็แก้ด้วยการใช้ Voice Gateway ที่เชื่อมต่อตรงจาก True IP-DID แปลงมาเป็น Interface แบบ E1 เพื่อใช้งานกับระบบเก่าได้แถมยังมีค่าบริการค่าติดตั้งแรกเข้าที่ถูกลงเมื่อเทียบกับ E1 ปกติ คาดการว่าในอนาคตคู่สายแบบ E1 จะค่อยๆ หมดไป เพราะผู้ให้บริการทุกรายได้เปลี่ยนมาให้บริการแบบ SIP Trunk แทน เหตุเพราะคู่สายแบบ E1 จะมีค่าใช้จ่ายสูงทั้งค่าบริการ และต้องใช้งานกับอุปกรณ์จำพวก Card Telephony หรือ Voice Gateway ที่มีราคาค่อนข้างสูงมาก ทาง กสท. CAT เองก็มีบริการแบบ E1 ให้ใช้งานเช่นกัน ข้อดีของ กสท. ที่ให้บริการแบบ E1 ก็คือ ค่าติดตั้งแค่ 10,000 บาท ใช้งานได้ 30 คู่สาย ได้ 1 เลขหมายใช้งาน แต่ทาง กสท. มีการบริการ Monitor คอยตรวจสอบการทำงานของคู่สาย 24 ชั่งโมง หากคู่สายเกิดปัญหา Down อาจจะด้วยปัญหาคู่สายหรืออุปกรณ์ปลายทางดับก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ กสท. จะรีบติดต่อลูกค้าทันที อันนี้ก็ถือว่าเป็นบริการที่ดีที่เหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งผู้ให้บริการบางไม่มีการแจ้งเตือน แถมบางครั้งอาจจะต้องรอช่วงเวลาทำการถึงจะมาแก้ปัญหาให้
คู่สาย E1 ซึ่งหากเปรียบเทียบกับบริการคู่สายแบบ SIP Trunk นั้น SIP Trunk จะถูกกว่ามาก แถมสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หรือตู้สาขาไอพี SIP Server ได้โดยตรงผ่าน Interface IP Network RJ45 ได้อย่างง่ายดาย
4. คู่สายโทรศัพท์แบบ Analog
คู่สายดึกดำบรรพ์หรือคู่สายโทรศัพท์สายทองแดงที่ใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตยันถึงปัจจุบัน เป็นคู่สายที่รองรับ 1 เลขหมาย / 1 คู่สาย ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาต่อยอดเล็กน้อยโดยการเพิ่มความสามารถในการแสดงเลขหมายเรียกเข้าหรือที่เรียกว่า บริการ Callerid บริการ Hunting ซึ่งก็จะยังมีข้อจำกัดอยู่ว่าไม่สามารถให้บริการได้ทุกเลขหมายและทุกพื้นที่ จะมีแค่บางพื้นที่เท่านั้นด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง
ขอบคุณรูปภาพจาก what-when-how.com
อีกข้อที่เลขหมายประเภทนี้ไม่ค่อยแนะนำให้นำมาใช้กับระบบ Callcenter เนื่องจากคู่สายเป็นประเภทสายทองแดง ซึ่งจะมีผลต่อสภาพอากาศส่งผลต่อการใช้งาน ยิ่งโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจะส่งผลกับคู่สายประเภทนี้พอสมควรเนื่องจากพอสายทองแดงเจอความชื้นสูงๆ จะทำให้เกิดค่าความต้านทานภายในสายมากขึ้นยิ่งถ้าเป็นคู่สายเก่าๆ จะส่งผลมาก เมื่อค่าความต้านทานสูง ทำให้เกิดค่าแรงดันไฟของสัญญาณไม่คงที่ทำให้ เมื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ Analog Gateway หรือ Card Analog Telephony จะส่งผลให้เกิดปัญหาสายค้างหรือคู่สายสัญญาณไม่มีการตัดสายเมื่อคุยสนทนาจบและวางหูโทรศัพท์แต่คู่สายสัญญาณไม่ตัดตาม ก็เนื่องมาจากค่าแรงดันไฟที่เคยตั้งค่าไว้กับอุปกรณ์ Analog Gateway หรือ Card Analog Telephony นั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยิ่งโดยเฉพาะคู่สายโทรศัพท์ของ TOT จะเจอปัญหาตรงๆ ก็คือแม้ว่าจะต่อใช้งานกับเครื่องโทรศัพท์ Analog phone ธรรมดาก็ตาม เวลามีสายเข้าและรับสายสนทนาได้ปกติ แต่ถ้ากรณีที่คนรับสายวางสายไปก่อน แต่คนโทรเข้ายังไม่วางสาย คู่สายโทรศัพท์ของ TOT หลายพื้นที่จะจเอปัญหาว่าสายไม่ตัดเอง ถ้าคนโทรเข้าไม่กดปุ่มวางสายที่โทรศัพท์ สายก็จะค้างอยู่อย่างนั้นไม่ตัดสาย ทำให้คู่สายไม่ว่าง สายอื่นไม่สามารถโทรเข้ามาได้ เพราะสายยังไม่ตัด เลขหมายของทรู True Analog ก็เจอปัญหานี้ในบางพื้นที่เช่นกัน นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างปัญหาที่ไม่แนะนำให้ใช้งานกับคู่สายโทรศัพท์แบบ Analog มาใช้งานกับ Callcenter